โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเอดส์
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome มีชื่อโดยย่อว่า AIDS = เอดส์

โรคเอดส์ คือ โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถต่อสู้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลก

ปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่ายกว่าคนปกติ

ขณะนี้โรคเอดส์กำลังระบาดในทวีปอเมริกา ยุโรป อาฟริกา แคนนาดา โรคนี้ได้ติดต่อมาถึงบาง

ประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย

โรคเอดส์เกิดจากอะไร

โรคเอดส์เกิดจากเชื้อไวรัส มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Human Immunodeficiency Virus (HIV)

โรคเอดส์เป็นกับใครบ้าง

โรคเอดส์ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย มักเกิดในพวกรักร่วมเพศ ชายที่เปลี่ยนคู่บ่อย ๆ ปัจจุบันพบ

ว่าเกิดในพวกรักต่างเพศได้ โดยเฉพาะในเพศชายที่ชอบเที่ยวโสเภณี

โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร

โรคเอดส์ติดต่อกันได้หลายทาง แต่ที่สำคัญ และพบบ่อย ได้แก่

  • การร่วมเพศกับผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือมีเชื้อโรคเอดส์
  • การรับถ่ายเลือดจากผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือมีเชื้อโรคเอดส์
  • การใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์
  • จากแม่ที่ตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคเอดส์ ติดต่อไปถึงลูกที่อยู่ในครรภ์
  • โรค เอดส์ไม่ติดต่อโดยการเล่นด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน เรียนร่วมกัน ไปเที่ยวด้วยกัน หรือ อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน หากไม่มีความเกี่ยวข้องทางเพศ

อาการของโรค

หลัง จากได้รับเชื้อโรคเอดส์เข้าไปในร่างกายแล้ว จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 เดือน จึงตรวจพบ

เลือดบวกต่อโรคเอดส์ ผู้ที่ติดเชื้อไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกคน ระยะฟักตัวก่อนมีอาการแตกต่างกัน

มากจาก 2-3 เดือน ถึง 5-6 ปี ประมาณกันว่า 25-30% ของผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายใน 5 ปี อีก

70% จะไม่มีอาการ แต่จะเป็นพาหะของโรค และแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

อาการที่พบในผู้ป่วยโรคเอดส์

  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มีไข้นานเป็นเดือน ๆ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ท้องเดินเรื้อรังจากโรคพยาธิ
  • มีแผลในปาก และตามผิวหนัง
  • มีอาการทางสมอง เช่น ชัก อัมพาต
  • โรคติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะปอดบวมจากพยาธิ เชื้อรา วัณโรค ฯลฯ
  • มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เม็ดเลือด และสมอง ฯลฯ

การวินิจฉัย

โรค เอดส์วินิจฉัยได้จากอาการข้างต้น ประกอบกับการตรวจเลือดบวกต่อโรคเอดส์ วิธีการตรวจเลือด

มี 2 วิธี วิธีแรกเรียกว่า Elisa ถ้าพบว่าเลือดบวก จะตรวจยืนยันโดยวิธี Western Blot การตรวจเลือด

นี้ไม่จำเป็นต้องทำในคนทั่วไป แต่ควรตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้สูง ซึ่งได้แก่พวก

รักร่วมเพศ ผู้หญิง และชายบริการ ผู้ที่ได้รับการถ่ายเลือดบ่อย ๆ ผู้ติดยาทางเส้นเลือด

การรักษา

ปัจจุบัน ยังไม่มียารักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่

แทรกซ้อนซึ่งไม่ค่อยได้ผลนัก เพราะผู้ป่วยขาดภูมิต้านทาน และมักเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อ

การป้องกัน

ไม่ สำส่อนทางเพศ ควรสมถุงยางอนามัยเวลาร่วมเพศกับคนแปลกหน้า พยายามอย่าเปลี่ยนคู่
นอนในหมู่รักร่วมเพศ อย่าร่วมเพศกับผู้ป่วย หรือสงสัยว่าเป็นโรคเอดส์

ก่อนรับการถ่ายเลือด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริจาคเลือดไม่มีเชื้อโรคเอดส์

อย่าใช้เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือร่วมกับผู้ติดยาเสพติด