โรคไพโบลาร์ รู้ไว รักษาไว

โรคไพโบลาร์ หรือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว โรคนี้ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่แปรปรวนผิดปกติ โดยมีอารมณ์ที่ดีมากจนผิดปกติหรือภาวะอารมณ์ดีตื่นตัวผิดปกติ สลับกับภาวะซึมเศร้าอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อการทำงาน การเช้าสังคม และการใช้ชีวิต ผู้ป่วยโรคไพโบลาร์มี 2 ลักษณะที่เด่นๆสลับกัน คือ อารมณ์ดีผิดปกติ และ ซึมเศร้า โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้

ภาวะอารมณ์ดีผิดปติ

  • รู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีพลังงานในร่างกายสูงจนผิดปกติ
  • ร่างเริง อารมณ์ดีเกิดไปจนผิดสังเกตอย่างไม่มีเหตุผล
  • มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและมีความรุนแรง ส่งผลให้หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย อารมณ์ไม่คงที่ ไม่มีเหตุผล
  • สามารถทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมๆกันได้ในเวลาเดียวกัน
  • คิดเร็ว พูดเร็ว พูดมาก ทำสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
  • มีความต้องการทางเพศสูง ทำให้บางครั้งต้องช่วยตัวเองอยู่หลายครั้ง หรืออาจมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่แปลกหน้าได้ง่ายโดยไม่มีการป้องกัน
  • มีความประมาท ในบางครั้งที่ต้องตัดสินใจ จะตัดสินใจได้ไม่ดี เกิดความผิดพลาดสูง ใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยง ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย

ภาวะซึมเศร้า

  • มีความรู้สึกไร้เรี่ยวแรง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
  • มีความรู้สึกอยากอยู่คนเดียว เก็บตัว ซึมเศร้า เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย
  • มีความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ สิ้นหวังกับสิ่งต่างๆ
  • มีความรู้สึกวิตกกังวน คิดมาก ฟุ้งซ่าน มองโลกในแง่ร้าย
  • ไม่ร่าเริง ไม่หัวเราะ รู้สึกไม่มีความสุขในชีวิต ไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกดีหรือผ่อนคลาย
  • รู้สึกโดดเดียว อยู่ตัวคนเดียว ไร้ค่า ผิดหวัง จนมีความคิดที่อยากจะตายหรือฆ่าตัวตาย
  • หลงลืม มีปัญหาทางด้านความจำ ไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆได้ดี สมาธิสั้น ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆได้ประสบความสำเร็จ
  • ทำกิจกรรมต่างๆได้น้อยลง ทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือบางครั้งก็รู้ไม่อยากทำอะไร
  • มีปัญหาเรื่องการนอน นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท นอนมากหรือนอนน้อยจนเกินไป
  • มีปัญหาเรื่องการกิน การอดอาหาร กินมากหรือกินน้อยจนเกินไป
  • หาสิ่งที่กระตุ้นการตื่นตัวของร่างกาย โดยการใช้สารเสพติด

หากใครที่รู้ตัวว่ามีอาการเหล่านี้ของโรคไบโพลาร์ ควรไปพบจิตแพทย์ทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการผิดปกติภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยจิตแพทย์จะให้ชุดคำถามการวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตในการทดสอบว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วหรือไม่ รวมถึงการสอบถามหลายๆเรื่อง อย่าง ผู้ป่วยถึงอาการและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยเอง ประวัติทางครอบครัวว่ามีญาติที่ประสบปัญหาทางจิตมาก่อนหรือไม่ ผู้ป่วยเคยมีความคิดที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ และประวัติการใช้ยาอะไรบ้างเพราะยาบางตัวอาจจะมีผลกระทบต่ออารมณ์และสภาพจิตใจ เมื่อทำการวินิจฉัยปัญหาเหล่านี้แล้ว จิตแพทย์จะสามารถเตรียมขั้นตอนการรักษาที่เหมาะสมให้ในแต่ละบุคคลที่มีการรักษาแตกต่างกันออกไป

 

สนับสนุนโดย  วิธีสมัครเล่นหวยฮานอย